จิต หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนือความคิด
เหตุผล ตรรกะ จิตสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิด กับปัญญาญาณ
พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต
ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด
ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก
กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้
จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ
ในอภิธรรมกล่าวว่ามี ๘๙ หรือ ๑๒๑คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต
ในอภิธรรมกล่าวว่ามี ๘๙ หรือ ๑๒๑คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต
ในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น
ตามกฎแห่งอนัตตา (ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้) คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น
เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น
สรรพสิ่งดูเหมือนมีตัวตนเพราะอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เมื่อแยกออกก็ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
เช่นเดียวกับจิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น
จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ประกอบของจิต
ประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานทั้ง๗อย่างเรียกว่า ธรรมธาตุ๗
ที่กำเนิดขึ้นตามกลไกมหาปัฏฐาน (ปัจจัย๒๔) ที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยจะหมดเหตุแห่งกระบวนการทางจิตเมื่อกำจัดอวิชชาสังโยชน์
จิตเหมือนรถยนต์การที่จะเป็นรถขี่ได้ ๑ คัน
จิตนั้นมีสภาวะเดียวแต่มี ๔
ชื่อที่ท่านแจงเพื่อความเข้าใจในบทบาทนั้นๆของจิต คือ
จิต มาจากการที่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งได้
เช่นคำว่าวิจิตร หมายเอาสภาวะของจิตที่แปรปรวนตามเจตสิกที่เข้ามาประกอบเป็น ๘๙
อาการ
วิญญาณ มาจากคำว่ารู้แจ้ง หมายเอา
จิตที่ทำหน้าที่รับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มโน มาจากคำว่านโม ความน้อมน้อม
มาเป็นความน้อมรู้ หมายเอากิริยาที่จิตให้ความสนใจต่อสิ่งใด หรือมุ่งหวังสนใจสิ่งใดเป็นสำคัญ
เช่น มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ
ภวังค์ มาจากคำว่าองค์แห่งการเกิดภพ
หรือตัวเกิด หมายเอากระบวนการของจิต ที่มีการเกิดหรือปฏิสนธิจิต ชวนะจิตต่างๆ
ก็จะมาจบที่ภวังคจิตอันเป็นข้อมูลทั้งปวงของจิตหรือจิตใต้สำนึก
ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจิตดวงใหม่ก่อนที่จิตดวงเก่าจะดับ จึงมักใช้ในความหมายของจิตใต้สำนึกของจิตแต่แม้จะมี
๔ ชื่อแต่ก็เป็นสิ่งเดียวกัน
แยกชื่อเพื่อใช้ในความที่จิตไปเกี่ยวข้องในด้านนั้นๆเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น